ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคมอีริคสัน
ประวัติความเป็นมา Erikson
อิริคสัน
ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่ม ฟรอยด์รุ่นใหม่ เป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็ก
จะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู
สภาพสังคม
และความเป็นอยู่ของเด็ก
ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยา
ทฤษฎีจิตสังคม
( Psychological Theory )แบ่งขั้นพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็น
8 ขั้น
ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ
ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารกอีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในวัยต่อไป
ขั้นที่ 2 อายุ 2-3 ขวบ
เป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้
สามรถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่างกายช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตัวเองได้และมีความอยากรู้อยากเห็น
อยากจับต้อง
ขั้นที่ 3 อายุ 4-5 ขวบ การคิดเป็นผุ้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด
เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง
ขั้นที่ 4 อายุ 6-11 ขวบ
ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย
เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย
ขั้นที่ 5 อายุ 11-15 ขวบ
ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท
เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร
และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสนในตนเอง และล้มเหลวในชีวิต
ขั้นที่ 6 อายุ 20-35 ปี ผูกพันหรือตีตัวออกห่าง
เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง
ขั้นที่ 7 อายุ 35-45 ปี
ให้กำเนิดหรือหมกหมุ่นในตัวเอง
เป็นระยะให้กำเนิดและเลี้ยงบุตร
วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคนมีครอบครัวมีบุตรทำหน้าที่ของพ่อแม่
ขั้นที่ 8 อายุ 45 ปีขึ้นไป มีศักดิ์ศรีหรือหมดหวัง
บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย
7 วัยที่ผ่านมา
ผู้อาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุดยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะเป็นนายของตัวเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น