วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันดูรา

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกต


ประวัติ
-เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
-ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
-เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม                
-รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

Albert Bandura นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น "ทฤษฎีปัญญาสังคม"

 บันดูรากล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมด้วยการรู้คิดจากการเลียนแบบแบ่งออกเป็น  2 ขั้น อาจจะแสดงด้วยแผนผังดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้

สิ่งเร้าหรือการรับเข้า           >                  บุคคล

ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้

สิ่งเร้าหรือการรับเข้า            >                 บุคคล

การทดลอง  บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
เด็กกลุ่มที่หนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ผลการทดลองพบว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบการทดลอง

สรุป
การเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์

การมาประยุกต์ใช้
1.ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
2.การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ
3. ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรม ที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น