วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เกสตัลท์

ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์

     นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย Max Wertheimer,         Wolfgang Kohler และ Kurt Koftka ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา 

  กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะ
ต้องเกิดจากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ

1.การรับรู้
   การตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ที่เน้น "การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย" นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน ดังนี้
  • กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน
  • กฏแห่งความคล้ายคลึง
  • กฏแห่งความใกล้ชิด
  • กฏแห่งการสิ้นสุด
  • กฎแห่งความต่อเนื่อง  
  • กฎแห่งความสมบูรณ์  
   


การเรียนรู้จากการหยั่งเห็น
  เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัด ระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คำว่า Aha ' experience

การไปประยุกต์ใช้
 1.    กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่
 2.    เน้นความสำคัญของผู้เรียน
 3.    ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคยหรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว 


บันดูรา

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกต


ประวัติ
-เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
-ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา
-เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม                
-รับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

Albert Bandura นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น "ทฤษฎีปัญญาสังคม"

 บันดูรากล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมด้วยการรู้คิดจากการเลียนแบบแบ่งออกเป็น  2 ขั้น อาจจะแสดงด้วยแผนผังดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้

สิ่งเร้าหรือการรับเข้า           >                  บุคคล

ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้

สิ่งเร้าหรือการรับเข้า            >                 บุคคล

การทดลอง  บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
เด็กกลุ่มที่หนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ผลการทดลองพบว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบการทดลอง

สรุป
การเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์

การมาประยุกต์ใช้
1.ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
2.การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ
3. ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรม ที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี

ธอร์นไดค์

ทฤษฎีการเชื่อมโยง

ประวัติ
   ธอร์นไดค์ เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ค.ศ.1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่  รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค

การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
   การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง หากได้รับความพึงพอใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้

การทดลอง
ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น


จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้

กฎการเรียนรู้
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2.กฎแห่งการฝึกหัด การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้น          คงทนถาวร กฎแห่งการฝึกหัด แบ่งเป็น 2 กฎย่อย คือ
 - กฎแห่งการได้ใช้
 - กฎแห่งการไม่ได้ใช้ 
3.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ  เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ กฎข้อนี้นับว่าเป็นกฎที่สำคัญ

การนำไปใช้

   ชั้นเรียนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน การตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก็หมายถึงการตั้งจุดมุ่งหมายที่สังเกตการตอบ สนองได้และครูจะต้อง จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ให้เขาเรียนทีละหน่วย เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดความรู้สึกพอใจในผลที่เขาเรียนในแต่ละหน่วยนั้น  ย้ำว่าการสอนแต่ละหน่วยก็ต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากเสมอ

สรุป
  การเรียนรู้ของธอร์นไดด์ จะเกิดขึ้นได้ จากการลองผิดลองถูกและการฝึกกระทำบ่อยๆ  

สกินเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ

ประวัติ บี.เอฟ.สกินเนอร์
  -เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1940 ที่ มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
  -จบปริญญาตรี ทางวรรณคดี ในอังกฤษ
  -เข้าศึกษาต่อสาขาจิตวิทยา ระดับปริญญาโทและเอก ณ มหาวิทยาลัย ฮาร์ดเวิร์ด

Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์  ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน  


หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ 
   (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น

สำหรับการทดลองของสกินเนอร์ 
     เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง 



การเสริมแรง
    หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า

ตัวอย่างการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
เห็นภาพ
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง
ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวน
ครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่อง
เล่นสล๊อตมาชีน
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่
แน่นอน
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำ
การทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา
ที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ที่ต้องการ


การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็ก
2. เปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
3. ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
4. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น 





วัตสัน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

ประวัติความเป็นมา
   จอห์น บี วัตสัน(John B. Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี     ค.ศ. 1878 – 1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียน ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลายจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)

การทดลอง
   วัตสัน ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว


วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
  1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
 2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผนการตอบสนอง
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย 
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข 
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พาฟลอฟ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

ประวัติความเป็นมา
  ชื่อ อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ
  เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849
  เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี)
  ที่พำนัก จักรวรรดิรัสเซีย , สหภาพโซเวียต
  เชื้อชาติ รัสเซีย , โซเวียต
  สาขาวิชา สรีระวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
  สถาบันที่อยู่ สถาบันการแพทย์ทหาร
  ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  เกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
  การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค


การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้
1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด

สรุป การทดลองที่จัดว่าเป็น classical ได้ให้ concept ใหญ่ๆ 4 ข้อด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญของ S - R Theory คือ
1. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป(Law of Generalization) หรือ การแผ่ขยาย ( Generalization)
2. กฎการจำแนกความแตกต่าง(Law of Discrimination)
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก

กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ
1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction)
2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery)
3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization)
4.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination)




เรื่องที่ 2 ทฤษฏีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


 ความหมายการเรียนรู้
      การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียนงานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้



        

เจโรม บรูเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของเจโรม บรูเนอร์


แนวคิดของบรูเนอร์

    การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม

พัฒนาการการเรียนรู้ทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ขั้น
 ขั้นที่1 การเรียนรู้ด้วยการกระทำ(แรกเกิด-2 ปี) 
    การเรียนรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส ดูตัวอย่างและทำตาม


ขั้นที่2 การเรียนรู้ด้วยการลองและจินตนาการ(ประมาณ 5-8 ปี)                    
  เด็กเรียนรู้ในการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ


ขั้นที่3 การเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์  
   เป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ

  

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
  1.  ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น  
       อยู่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ


2. ระดับประถมปลาย 
     “พัฒนาการทางสติปัญญา จะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้นๆ


3.  ระดับมัธยมศึกษา 
     เด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นโดยเน้นความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ


สรุป
        บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า acting,imaging และ symbolizing เป็นกระบนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น








เพียเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์

แนวคิดของเพียเจต์
   การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยเป็นลำดับขั้น   เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1.การซึมซับหรือการดูดซึม 
2.การปรับและจัดระบบ 
3.การเกิดความสมดุล 

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
 1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  
       เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่


2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด 
      เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
  • ขั้นก่อนเกิดสังกัป  
  • ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ 



3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม 
      เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้


4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม 
      เริ่มจากอายุ 11-15 เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็ก         จะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่


เพียเจต์ ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาจริยธรรมออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
  •    ขั้นก่อนจริยธรรม
  •    ขั้นยึดคำสั่ง
  •    ขั้นยึดหลักแห่งตน

ขั้นเพียเจต์ ได้ตั้งเกณฑ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 เกณฑ์ยึดหลักแห่งตน
  •    การตัดสินจากเจตนาการกระทำ
  •    การตัดสินเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  •    ความเห็นอิสระจากการลงโทษ
  •    ใช้วิธีการแก้แค้น
  •    การลงโทษเพื่อตัดสินนิสัย
  •    หลักธรรมชาติของความโหดร้าย
สรุป
เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม